วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ธรณีประวัต

ธรณีประวัติ





ตั้งแต่โลกเริ่มเย็นตัวเมื่อประมาณ 4600 ล้านปีที่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรื่อยมา จนทำให้โลกมีสภาพเช่นปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมรผลให้บริเวณที่เคยเป็นทะเลแห่งกลายเป็นภูเขา ภูเขาบางลูกถูกกัดเซาะเปลี่ยนเป็นที่ราบ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีทั้งดำรงอยู่และการเกิดใหม่

 ข้อมูลทางธรณีวิทยาอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีตที่นิยมใช้มี 3 อย่าง ดังนี้

1.อายุทางธรณีวิทยา

- อายุเทียบสัมพันธ์  
          
          คือ อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีที่เรียกว่าธรณีกาล จะบอกได้ว่าเป็นหินในยุคไหนหรือมีช่วงอายุเท่าไร


-อายุสัมบูรณ์
         เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน คำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น C-14, K-40, Rb-87,U-238 เป็นต้น
หินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้าน เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุก จะใช้ Rb-87
ตะกอนหรือซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 70000 ปี จะใช้วิธีกัมมันตรังสี C-14 เช่น ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี




2.ซากดึกดำบรรพ์ 

-  ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืช ซากสัตว์ ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ และร่องรอย
- ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฎให้เห็นเป็นช่วงสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่ใต้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
- ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้แน่นอน และปรากฎให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วสูญพันธุ์ 
- ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ เป็นต้น




3.ลำดับชั้นหิน

             เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมของตะกอน ดังนั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆ ตามลำดับ





อ้างอิงจาก หนังสือโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทย

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา







แผ่นดินไหว


สาเหตุและกลไกในการเกิดแผ่นดินไหว

- การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้เกิดแรงพยายามกระทำต่อชั้นหินขนาดใหญ่ เพื่อจะทำให้ชั้นหินนั้นแตกหัก ขณะชั้นหินยังไม่แตกหัก เกิดเป็นพบังงานศักดิ์ขั้นที่ชั้นหินนั้น
- เมื่อมีแรงขนาดมากจนทำให้แผ่นหินแตกหัก จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานนั้นไปยังชั้นหินที่อยู่ติดกันการถ่ายโอนพลังงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปของคลื่น แผ่ออกไปทุกทิศทาง คลื่นที่แผจากจุดกำเนิด การสั่นสะเทอนขึ้นมายังเปลือกโลกได้ เรียกคลื่นนี้ว่า " คลื่นในตัวกลาง"
อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง
- เรียกจุดกำเนิดการั่นสะเทือนของคลื่นว่า "ศูนย์เกิดแผ่นไหว
- ตำแหน่งบนผิวโลกทีอยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งจะมี " คลื่นพื้นผิว " กระจายออกไปตามแนวผิวโลก
- การระเบิดของภูเขาไฟอาจเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวได้
- การเคลื่อนตัวของแมกมาตามเส้นทางมายังปากปล่องภูเขาไฟ อาจทำให้เกิดแผ่นไหวก่อนที่แมกมานั้นระเบิดออกมาเป็นลาวา
- การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดินก็อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นไว




คลื่นพื้นผิว



1.คลื่นเลิฟ (love wave) หรือคลื่นL เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบบริเวณใกล้กับผิวโลกโดยมีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นเลิฟเป็นคลื่นที่สร้างความเสียหายให้กับฐานรากของอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
2.คลื่นเรย์ลี ( rayleigh wave ) หรือคลื่นRเป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในระนาบแนวดิ่งเป็นวงรีในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้พื้นผิสโลกมีการสั่นขึ้นลง




ไซโมกราฟ

          เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวมีเป็นเครือข่ายทั่วโลก






แนวแผ่นดินไหว

1.แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมดจัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรง คิดเป็นร้อยละ80 ของการการเกิดแผ่นไหวทั่วโลกเรียกกันว่า วงแหวนแห่งไฟ ( ring of fire ) ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโกและด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา แผ่นดินไหวในบริเวณนี้มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น ปานกลาง และลึก
2.แนวรอยต่อภูเขาเอลป์ในทวีปยุโรปและภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย
 เป็นแหล่งที่เกิดแผ่นดินไหวประมาณร้อยละ15 ได้แก่ ปริเวณประเทศพม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตรุกี และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโยป แผ่นดินไหวในบริเวณนี้มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้นและปานกลาง
3.แนวรอยต่อที่เหลืออีกรอยละ 5 เกิดในบริเวณแนวเทือกเขากลางมหาสมุทรต่างๆของโลก ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก แนวสันเขาใต้มหาสมุทรอินเดียและอาร์กติก ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้อยู่ที่ระดับตื้นและเกิดเป็นแนวแคบ




ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว

- ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอยูากับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดอนไหว
- ความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดจากผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นบนผิวโลก ณ จุดสังเกต
-หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหว คือ ริกเตอร์ ตามชื่อของ Charles F. Richter
- น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่ดินไหวขนาดเล็ก และ 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง


มาตราเมอร์คัลลี

        คือ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งกำหนดจากผลกระทบหรือความเสียหาย แบ่งเป็น 12 ระดับ ดังนี้
1.คนไม่รู้สึกสั่นไหว แต่เครื่องมือตรวจจับได้
2.คนในอาคารรู้สึกได้
3.คนในอาคารแม้ไม่สูงมากก็รู้สึก
4.คนในอาคารและคนนอกอาคารบางส่วนรู้สึกได้ ของในอาคารสั่นไหว
5.รู้สึกได้ทุกคน ของขนาดเล็กเครื่องที่
6.วัตถุขนาดใหญ่ในอาคารมีการเครื่อนที่
7.อาคารมาตราฐานปานกลางเสียหายเล็กน้อย
8.อาคารที่ออกแลลพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารมาตราฐานต่ำเสียหายมาก
9.อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายชัดเจน แผ่นดินแยก
10.แผ่นดินแยกถล่ม โคลนทรายพุ่งขึ้นจากรอยต่อ
11.ดินถล่มและเลื่อนไหล
12.ทุกสิ่งโดนทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น



แผ่นไหวในประเทศไทย

รอยต่อมีพลัง ( active fault ) 
           เป็นรอยต่อเลื่อนที่มีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่ายังคงมีการเลื่อนตัวในปัจจุบัน และอาจเลื่อนตัวอีกในอนาคต ในประเทศไทยแนวรอยเลื่อเหล่านี้ส่วนมากอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน ส่วนภาใต้รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น




คาบอุบัติซ้ำ  ( return period )

     คือ ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้ว กลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นร้อยปี พันปี หรือน้อยกว่านั้น



การปฏิบัติขณะเกิดผแ่นดินไหว

1.อย่าสติอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ หยุดการใช้ไฟฟ้าและไฟจากเตาแก๊ส และควรมีไฟฉายประจำตัวอยู่ภายในบ้าน
2,ถ้าอยู่ภายในบ้านควรอยู่ให้ห่างประตู หน้าต่าง กระจก และระเบียง ระวังอย่าให้สิ่งของภายในบ้านหล่นทับ โดยอาจมุดอยู่ใต้โต๊ะ
3.ถ้าอยู่ใต้ตึกสูง ให้อยู่ไปใต้โต๊ะที่แข็งแรวเพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นใส่ อย่าวิ่งออกไปภายนอก เพราะบันไดอาจจะพังลงได้ และห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
4.ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทอนหยุด
5,หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากายหาด เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่ง
6.เรียนรู้และติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวจากสื่อต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรับภัยจากแผ่นดินไหว



การระเบิดของภูเขาไฟ

           เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ  โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ


หินภูเขาไฟ(หินอัคนีพุ)

-ความพรุนของหินขึ้นอยู่กับอัตราการเย็ยตัวของลาวา
-  ตัวอย่างของหินจากภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินแก้ว หินทัฟฟ์ หินออบซีเดียน



หินบะซอลต์

- เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ผิวโลกดังนั้นจึงกระทบกับอากาศหรือน้ำส่งผลให้มีการเย็นตัวเร็วลักษณะของหินจะมีเม็ดละเอียดกว่าหินแกรนิต และมีรูพรุนเล็กน้อย
-เป็นต้นกำเนิดอัญมณีที่สำคัญ
- ถ้ามีปริมาณของSiจะเป็นหินแอนดีไซด์




หินพัมมิซ

- เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวเร็วของลาวาทำให้มีความพรุนมาก บางชิ้นลอยน้ำได้
- นำมาใช้เป็นหินขัดตัว




ภูมิสักษณ์ของภูเขาไฟ 

1.ที่ราบสูงบะซอลต์ เกิดจากลาวาแผ่เป็นบริเวณก้าง ทับถมกันหลายชั้นกลายเป็นที่ราบและเนินเขา


2.ภูเขาไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อปล่องภูเขาไฟเล็กๆ บนยอดจะจมลงไป




3.ภูเขาไฟรูปกรวย เป็นรูปแบบภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด เกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างการไหลของลาวา กับชิ้นส่วนภูเขาไฟ
   




ภูเขาไฟในประเทศไทย

- ประเทศไทยอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นธรณีภาค แต่เคยมีการระเบิดภูเขาไฟมาก่อน บริเวณที่พบหินภูเขาไฟ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภูเขาไฟที่สำรวจพบส่วนใหญ่มีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจน ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปางเป็นต้น















อ้างอิงจาก หนังสือโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สสวท.

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงสร้างโลก



โครงสร้างโลก






                          โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600ล้านปีมาแล้ว      นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า ระบบสุริยะเกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊สในอวกาศกลาย    เป็นระบบสุริยะ ซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ

การศึกษาโครงสร้างโลก

                         นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีการต่างๆ ในการศึกษาโครงสร้างโลกทั้งทางตรงและ   ทางอ้อม โดยพยายามใช้หลักฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะตอบข้อสงสัยดังกล่าว
  เมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา เซอร์ไอแซก นิวตันได้ค้นพบวิธีการคำนวณค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกซึ่ง    พบว่ามีค่าประมาณ2เท่าของค่าความหนาแน่นของหินบนผิวโลก
         



         
              ถัดจากนั้นอีก100ปี นักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวขาทำการวิจัย และสำรวจเพื่อหาความรู้   เกี่ยวกับโครงสร้างโลกจากสิ่งต่างๆที่ระเบิดออกมาจากภูเขาไฟซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบางบริเวณ     ภายในโลกมีความร้อนและความดันที่เหมาะสมต่อการหลอมเหลวหินได้
  ในการศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก คลื่นที่ใช้วิเคราะห์คือ
  คลื่นปฐมภูมิ ( primary waves หรือ P waves ) และคลื่นทุติยภูมิ ( Secondary waves หรือ S waves ) ซึ่ง   เป็นคลื่นไหวสะเทือนชนิดคลื่นในตัวกลาง ( body waves )
  คลื่นปฐมภูมิ สามารถผ่านตุวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่นทุติยภูมิ
  คลื่นทุติยภูมิ สามารถเคลื่อที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น







    การแบ่งโครงสร้างโลก

              องค์ประกอบต่างๆภายในโลกไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันตลอด แต่สามารถแบ่งงออกเป็นื5ชั้น คือ     ธรณีภาค  ฐานธรณีภาค  มีโซสเฟียร์ แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกกชั้นใน








                  ธรณีภาค ( lithosphere ) เป็นชั้นนอกสุดของโลก ในชั้นนี้คลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิจะเคลื่อนที่ผ่่านด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 6.4-8.4กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.7-4.8กิโลเมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดยทั่วไปชี้นนี้มีคว่มลึกประมาณ 100 กิโลเมตรจากผิวโลก ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นวัตถุแข็งแกร่ง


                   ฐานธรณีภาค ( asthenosphere ) เป็นชั้นที่อยู้ใต้ธรณ๊ภาค ในบริเวณนี้คลื่นไหวสะเทือนมี    การเปลี่ยนแปลงความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออกเป็น 2 บริเวณคือ


  เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง ( low velocity zone ) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมี         ความเร็วลดลง เกิดขึ้นในระดับความดึกประมาณ 75-250 กิโลเมตรจากผิวโลก

  เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง ( transitional zone ) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเิ่มขึ้นใน         อัตราที่ไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นในระดับควาลึกผระมาณ 400-660 กิโลเมตรจากผิวโลก

  
                  มีโซสเฟียร์ ( mesosphere) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ฐานธรณีและเป็นบริเวณที่คล่นไหวสะเทือนมี      ความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ เนื่องจากหินหรือสารบริเซณส่วนล่างมีสถานะเป็นของแข็ง มีความลึก            ประมาณ 660-2,900 กิโลเมตรจากผิวโลก


                แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) เป็นชันที่อยู่ได้ชั้นมีโซสเฟียร์ มีความลึกประมาณ 2,900-       5,140 กิโลเมตรจากผิวโลก ในชั้นนี้นั้นคลื่นปฐมภูมิจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนคลื่นทุติยภูมิไม่     สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ เน่องจากแก่นโลกนั้นนอกประกอบด้วยสารที่มีสถานะเป็นของเหลว



               แก่นโลกชั้นใน ( Inner core ) อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5,140 กิโลเมตรจนถึง                    จุดศูนย์กลางของโลก คลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิมีความเร็วค่อนข้างคงที่ และยังเป็นของแข็งที่เป็น     เนื้อเดียวกัน




     การแบ่งโครงสร้างโลกจาการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของหิน และสารต่างๆ








                เปลือกโลก ( crust ) เป็นเสมือนผิวด้านนอกที่ปกคลุมโลก แบ่งออกเป็น เปลือกโลกทวีป        และเปลือกโลกมหาสมุทร



  เปลือกโลกทวีป หมายถึง ส่วนที่เป็นพื้นทวีปและไหล่ทวีป มีความหนาแน่นเฉลี่ย 35-40 กิโลเมตร        และบางมราอาจจะหนามากกว่า 70 กิโลเมตร เปลือกโลกทวีปประกอบด้วยธาตุซิลิคอนและอลูมิเนียม    เป็นส่วนใหญ่


  เปลือกโลกมหาสมุทร หมายถึง ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทรต่างๆ มีความหนาเฉลี่ย 5-10 กิโลเมตร
  ประกอบด้วยธาตซิลิคอนและแมกนีเซียมเป็นส่วนใหญ่


                เนื้อโลก ( mantle ) เนื้อโลกตอนบนเป็นหินอัลตราเมฟิก ส่วนหินบริเวณเนื้อโลกส่วนอื่นๆ       เป็นหินที่  ประกอบด้วยแร่ที่มีฌครงสร้างที่สามารถทต่อสภาพความดันและอุณภิมิที่เกิดขึ้นภาในเนื้อ       โลกได้


                แก่นโลก ( core ) แผ่นของเปลือกโลกประกอบด้ววยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินที่มีความหนาแน่น รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลกหรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิต คือ เขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน



อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.

โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกและการเปลี่ยนแปลง







            ทฤษฎีทวีปเลื่อนของเวเกเนอร์ 



      ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาว้ยอรมัน ชื่ออัลเฟรด เวเกเนอร์ ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดิน          ทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่าพันเจีย ( Pangaea ) ซึ่งเป็นภาษากรีกที่แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด
     พันเจียเป็นมหาทวีปคลุมพื้นที่จากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซาซึ่ง      แบ่งมหาทวีปออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตร คือ ลอเรเซีย และส่วนใต้เส้นศูนย์สูตรคือ              กอนด์วานา
     - ลอเรเซีย ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ และทวีปยูเรเซีย
     - กอนด์วานา ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย อนุ         ทวีปอินเดีย และเกาะมาดากัสการ์









                 หลักการสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์

      1.รอยต่อของแผ่นธรณีแต่ละแผ่นธรณีภาค     
     จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน บางแผ่นเคลื่อนที่แยกออกจากกัน บาง          แผ่นเคลื่อนที่ผ่านกัน นอกจากนั้นยังมีรอยเลื่อนปรากฏบนแผ่นธรณีภาคบางแผ่น











     เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละ        ทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดีต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่ง      เคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามา          แทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ

    2.ความคล้ายคลึงกันของหินและแนวภูเขา







     กลุ่มหินในอเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา ออสเตรเลียและอินเดีย เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนนิเฟอรัสถึง      ยุคจูแรสซิก

      3.หินที่เกิดจากการสะสมของตัวตะกอนจากธารน้ำแข็ง



    

     4.ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ 





  

     พบซาก 4 ประเภท คือ โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส และกลอสโซพเทรีสในทวีปต่างๆที่เคย     เป็นกอนด์วานา


    5.อายุหินบริเวณมหาสมุทร






     จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดและ      รอยแยกบริเวณสันเขาใต้มหาสมุทร


     6.ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล





      ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์

               กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

     1.วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในโลกไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลก      กลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น
     2.กลไกที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดจาก
     -  การหมุนของโลกและแรงดึงดูดของดวงอาทิตย?และดวงจันทร์ชักจูงให้เกิดกระบวนการของทวีป      เลื่อน
     - เพลตธรณีชั้นนอกถูกดึงดูดให้ขยายตัวจากจุดกลาง
     - การพาความร้อนในแมนเทิล
     - การแยกตัวของแผ่นทวีป
         

                  แผ่นธรณีของโลก        

       - ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน







     
      เนื่องจากดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุด       ตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด เมื่อแมกมาเคลื่อตัวแทรกขึ้นาตามรอยแยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้                 มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่าการขยายตัวของพื้นทะเล

                ลักษณะกรเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาค


      -ขอบแผ่นธรณีเคลื่อนเข้าหากัน
      แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ 

      1.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้สมุทร ทำให้เกิดร่องลึกก้นสมุทร

     2.แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าจะมุด         ลงใต้แผ่นธรณีทวีป ทำให้เกิดเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีทวีป
     3.แผ่นธรณีทวีปขนกับแผ่นธรณีทวีป  แผ่นธรณีทั้งสองมีความหนาแน่นมากเมื่อชนกันจึงทำให้ส่วน      หนึ่งมุดลง อีกส่วนเกยกันอยู่ เกิดเป็นเทือเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีทวีป

               การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก 

     -ชั้นหินคดโค้ง






     -รอยเลื่อน คือ ระนาบรอยแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน แบะหินจะเคลื่อนที่ตามระนาบ          รอยแตกนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท รอยเลื่อนปกติ   รอยเลื่อนย้อน  รอยเลื่อนตามแนวระดับ












อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาตร์ และอวกาศ สสวท.

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประวัติ




⇛น.ส.ณัฏฐา  นภาพรวงศ์
⇛ม.5/1   เลขที่38

⇛อนาคต : อยากเป็นนักออกแบบภายใน
⇛คณะที่อยากเข้า : สถาปัต สาขาออกแบบภายใน

⇛ผลงานที่ผ่านมา : เคยไปแข่งสอวน.เคมีค่ะ  
                             แข่งทำโจทย์คณิตศาสตร์ 
                             แข่งตอบปัญหาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนเทพลีลาได้รางวัลที่1


⇛คลิปที่ประทับใจ :ส่วนตัวเป็นคนรักสัตว์มากก็จะดูคลิปเกี่ยวกับสัตว์โลกสารคดีหรืออะไรที่เกี่ยวกับ
                                สัตว์น่ารักๆ


หน้าปก คริๆๆๆ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โลกดาราศาสตร์