ธรณีประวัติ
ตั้งแต่โลกเริ่มเย็นตัวเมื่อประมาณ 4600 ล้านปีที่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรื่อยมา จนทำให้โลกมีสภาพเช่นปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมรผลให้บริเวณที่เคยเป็นทะเลแห่งกลายเป็นภูเขา ภูเขาบางลูกถูกกัดเซาะเปลี่ยนเป็นที่ราบ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีทั้งดำรงอยู่และการเกิดใหม่
ข้อมูลทางธรณีวิทยาอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีตที่นิยมใช้มี 3 อย่าง ดังนี้
1.อายุทางธรณีวิทยา
- อายุเทียบสัมพันธ์
คือ อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีที่เรียกว่าธรณีกาล จะบอกได้ว่าเป็นหินในยุคไหนหรือมีช่วงอายุเท่าไร
-อายุสัมบูรณ์
เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน คำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น C-14, K-40, Rb-87,U-238 เป็นต้น
หินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้าน เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุก จะใช้ Rb-87
ตะกอนหรือซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 70000 ปี จะใช้วิธีกัมมันตรังสี C-14 เช่น ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี
2.ซากดึกดำบรรพ์
- ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืช ซากสัตว์ ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ และร่องรอย
- ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฎให้เห็นเป็นช่วงสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่ใต้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
- ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้แน่นอน และปรากฎให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วสูญพันธุ์
- ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ เป็นต้น
3.ลำดับชั้นหิน
เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมของตะกอน ดังนั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆ ตามลำดับ
อ้างอิงจาก หนังสือโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น