วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกและการเปลี่ยนแปลง







            ทฤษฎีทวีปเลื่อนของเวเกเนอร์ 



      ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาว้ยอรมัน ชื่ออัลเฟรด เวเกเนอร์ ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดิน          ทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่าพันเจีย ( Pangaea ) ซึ่งเป็นภาษากรีกที่แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด
     พันเจียเป็นมหาทวีปคลุมพื้นที่จากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซาซึ่ง      แบ่งมหาทวีปออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตร คือ ลอเรเซีย และส่วนใต้เส้นศูนย์สูตรคือ              กอนด์วานา
     - ลอเรเซีย ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ และทวีปยูเรเซีย
     - กอนด์วานา ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย อนุ         ทวีปอินเดีย และเกาะมาดากัสการ์









                 หลักการสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์

      1.รอยต่อของแผ่นธรณีแต่ละแผ่นธรณีภาค     
     จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน บางแผ่นเคลื่อนที่แยกออกจากกัน บาง          แผ่นเคลื่อนที่ผ่านกัน นอกจากนั้นยังมีรอยเลื่อนปรากฏบนแผ่นธรณีภาคบางแผ่น











     เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละ        ทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดีต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่ง      เคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามา          แทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ

    2.ความคล้ายคลึงกันของหินและแนวภูเขา







     กลุ่มหินในอเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา ออสเตรเลียและอินเดีย เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนนิเฟอรัสถึง      ยุคจูแรสซิก

      3.หินที่เกิดจากการสะสมของตัวตะกอนจากธารน้ำแข็ง



    

     4.ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ 





  

     พบซาก 4 ประเภท คือ โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส และกลอสโซพเทรีสในทวีปต่างๆที่เคย     เป็นกอนด์วานา


    5.อายุหินบริเวณมหาสมุทร






     จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดและ      รอยแยกบริเวณสันเขาใต้มหาสมุทร


     6.ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล





      ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์

               กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

     1.วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในโลกไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลก      กลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น
     2.กลไกที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดจาก
     -  การหมุนของโลกและแรงดึงดูดของดวงอาทิตย?และดวงจันทร์ชักจูงให้เกิดกระบวนการของทวีป      เลื่อน
     - เพลตธรณีชั้นนอกถูกดึงดูดให้ขยายตัวจากจุดกลาง
     - การพาความร้อนในแมนเทิล
     - การแยกตัวของแผ่นทวีป
         

                  แผ่นธรณีของโลก        

       - ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน







     
      เนื่องจากดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุด       ตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด เมื่อแมกมาเคลื่อตัวแทรกขึ้นาตามรอยแยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้                 มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่าการขยายตัวของพื้นทะเล

                ลักษณะกรเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาค


      -ขอบแผ่นธรณีเคลื่อนเข้าหากัน
      แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ 

      1.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้สมุทร ทำให้เกิดร่องลึกก้นสมุทร

     2.แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าจะมุด         ลงใต้แผ่นธรณีทวีป ทำให้เกิดเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีทวีป
     3.แผ่นธรณีทวีปขนกับแผ่นธรณีทวีป  แผ่นธรณีทั้งสองมีความหนาแน่นมากเมื่อชนกันจึงทำให้ส่วน      หนึ่งมุดลง อีกส่วนเกยกันอยู่ เกิดเป็นเทือเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีทวีป

               การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก 

     -ชั้นหินคดโค้ง






     -รอยเลื่อน คือ ระนาบรอยแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน แบะหินจะเคลื่อนที่ตามระนาบ          รอยแตกนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท รอยเลื่อนปกติ   รอยเลื่อนย้อน  รอยเลื่อนตามแนวระดับ












อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาตร์ และอวกาศ สสวท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น