วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงสร้างโลก



โครงสร้างโลก






                          โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600ล้านปีมาแล้ว      นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า ระบบสุริยะเกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊สในอวกาศกลาย    เป็นระบบสุริยะ ซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ

การศึกษาโครงสร้างโลก

                         นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีการต่างๆ ในการศึกษาโครงสร้างโลกทั้งทางตรงและ   ทางอ้อม โดยพยายามใช้หลักฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะตอบข้อสงสัยดังกล่าว
  เมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา เซอร์ไอแซก นิวตันได้ค้นพบวิธีการคำนวณค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกซึ่ง    พบว่ามีค่าประมาณ2เท่าของค่าความหนาแน่นของหินบนผิวโลก
         



         
              ถัดจากนั้นอีก100ปี นักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวขาทำการวิจัย และสำรวจเพื่อหาความรู้   เกี่ยวกับโครงสร้างโลกจากสิ่งต่างๆที่ระเบิดออกมาจากภูเขาไฟซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบางบริเวณ     ภายในโลกมีความร้อนและความดันที่เหมาะสมต่อการหลอมเหลวหินได้
  ในการศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก คลื่นที่ใช้วิเคราะห์คือ
  คลื่นปฐมภูมิ ( primary waves หรือ P waves ) และคลื่นทุติยภูมิ ( Secondary waves หรือ S waves ) ซึ่ง   เป็นคลื่นไหวสะเทือนชนิดคลื่นในตัวกลาง ( body waves )
  คลื่นปฐมภูมิ สามารถผ่านตุวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่นทุติยภูมิ
  คลื่นทุติยภูมิ สามารถเคลื่อที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น







    การแบ่งโครงสร้างโลก

              องค์ประกอบต่างๆภายในโลกไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันตลอด แต่สามารถแบ่งงออกเป็นื5ชั้น คือ     ธรณีภาค  ฐานธรณีภาค  มีโซสเฟียร์ แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกกชั้นใน








                  ธรณีภาค ( lithosphere ) เป็นชั้นนอกสุดของโลก ในชั้นนี้คลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิจะเคลื่อนที่ผ่่านด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 6.4-8.4กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.7-4.8กิโลเมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดยทั่วไปชี้นนี้มีคว่มลึกประมาณ 100 กิโลเมตรจากผิวโลก ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นวัตถุแข็งแกร่ง


                   ฐานธรณีภาค ( asthenosphere ) เป็นชั้นที่อยู้ใต้ธรณ๊ภาค ในบริเวณนี้คลื่นไหวสะเทือนมี    การเปลี่ยนแปลงความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออกเป็น 2 บริเวณคือ


  เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง ( low velocity zone ) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมี         ความเร็วลดลง เกิดขึ้นในระดับความดึกประมาณ 75-250 กิโลเมตรจากผิวโลก

  เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง ( transitional zone ) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเิ่มขึ้นใน         อัตราที่ไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นในระดับควาลึกผระมาณ 400-660 กิโลเมตรจากผิวโลก

  
                  มีโซสเฟียร์ ( mesosphere) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ฐานธรณีและเป็นบริเวณที่คล่นไหวสะเทือนมี      ความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ เนื่องจากหินหรือสารบริเซณส่วนล่างมีสถานะเป็นของแข็ง มีความลึก            ประมาณ 660-2,900 กิโลเมตรจากผิวโลก


                แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) เป็นชันที่อยู่ได้ชั้นมีโซสเฟียร์ มีความลึกประมาณ 2,900-       5,140 กิโลเมตรจากผิวโลก ในชั้นนี้นั้นคลื่นปฐมภูมิจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนคลื่นทุติยภูมิไม่     สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ เน่องจากแก่นโลกนั้นนอกประกอบด้วยสารที่มีสถานะเป็นของเหลว



               แก่นโลกชั้นใน ( Inner core ) อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5,140 กิโลเมตรจนถึง                    จุดศูนย์กลางของโลก คลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิมีความเร็วค่อนข้างคงที่ และยังเป็นของแข็งที่เป็น     เนื้อเดียวกัน




     การแบ่งโครงสร้างโลกจาการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของหิน และสารต่างๆ








                เปลือกโลก ( crust ) เป็นเสมือนผิวด้านนอกที่ปกคลุมโลก แบ่งออกเป็น เปลือกโลกทวีป        และเปลือกโลกมหาสมุทร



  เปลือกโลกทวีป หมายถึง ส่วนที่เป็นพื้นทวีปและไหล่ทวีป มีความหนาแน่นเฉลี่ย 35-40 กิโลเมตร        และบางมราอาจจะหนามากกว่า 70 กิโลเมตร เปลือกโลกทวีปประกอบด้วยธาตุซิลิคอนและอลูมิเนียม    เป็นส่วนใหญ่


  เปลือกโลกมหาสมุทร หมายถึง ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทรต่างๆ มีความหนาเฉลี่ย 5-10 กิโลเมตร
  ประกอบด้วยธาตซิลิคอนและแมกนีเซียมเป็นส่วนใหญ่


                เนื้อโลก ( mantle ) เนื้อโลกตอนบนเป็นหินอัลตราเมฟิก ส่วนหินบริเวณเนื้อโลกส่วนอื่นๆ       เป็นหินที่  ประกอบด้วยแร่ที่มีฌครงสร้างที่สามารถทต่อสภาพความดันและอุณภิมิที่เกิดขึ้นภาในเนื้อ       โลกได้


                แก่นโลก ( core ) แผ่นของเปลือกโลกประกอบด้ววยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินที่มีความหนาแน่น รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลกหรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิต คือ เขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน



อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น